PHOTO ABSTRACT
บล็อกเกอร์ผู้สร้าง ต้องการให้รู้ถึงเรีองศิลปะของ abstract
วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556
Original Abstract Art
Abstract Art Landscape Tree Painting Brilliance In The Sky Madart
Abstract Art Landscape Tree Painting Brilliance In The Sky Madart
Abstract Artist Gallery
Abstract Artist Gallery
การวาดภาพของ Jackson Pollock
Jackson Pollock :: ศิลปิน....ชีวิตนอกกรอบ
Jackson Pollock :: ศิลปิน....ชีวิตนอกกรอบ (และมาวาดรูปแบบ Jackson Pollock กัน)
พอ ลล็อคเกิดที่รัฐไวโอมิ่ง เมื่อปี 1912 เรียนศิลปะที่ Manual Arts High School ในลอสแองเจลิส ก่อนศึกษาต่อที่สถาบัน Art Students League ในนิวยอร์ค ตลอดชีวิตพอลล็อคพบแต่ความผิดหวัง เขาเป็นคนอารมณ์ร้อน ไวต่อความรู้สึกมาก โดยเฉพาะต่อคำพูดวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของเขา เช่นครั้งหนึ่ง จิม สวีนีย์ แสดงความเห็นไว้ในบทความว่าพอลล็อคเป็นคนไม่มีหลักเกณฑ์ พอลล็อคโมโหมาก จึงลงมือเขียนภาพ Search for a Symbol แล้วหิ้วภาพนี้ไปพบสวีนีย์ พร้อมกับพูดว่า “ผมต้องการให้คุณเห็นว่า ภาพที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เป็นอย่างไร” (ชะวัชชัย ภาติณธุ, ศิลปะศิลปิน หรือศิลปินศิลปะ, โอเดียนสโตร์ 2532, น.78-79)
เพราะ นิสัยส่วนตัวเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้พอลล็อคลงมือทำงานอย่างจริงจังเพื่อแสดงตัวตนและลบคำสบประมาท จนเขาได้รับการยกย่องยอมรับว่าเป็นผู้นำขบวนการเขียนภาพ
แนวเอ็กเพรสชั่นนิสม์นามธรรม (abstract-expressionism)
พร้อมกับเป็นต้นแบบสไตล์การเขียนภาพที่เรียกว่า
จิตร กรรมแอ๊คชั่น (action painting) ด้วยการสาด เท หยด สลัดสีลงบนผ้าใบขนาดใหญ่ แสดงถึงความเคลื่อนไหวว่องไวและมีพลัง กระทั่งนิตยสารไทม์ให้สมญานามเขาว่า “แจ๊ค เดอะ ดริปเปอร์” (Jack the Dripper)
เรื่อง ราวของพอลล็อคเคยถูกสร้างเป็นหนังสารคดี 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ Jackson Pollock (1987) โดยผู้กำกับ คิม อีแวนส์ อีกเรื่องหนึ่งชื่อ Jackson Pollock : Love and Death on Long Island (1999) โดย เทเรซ่า กริฟฟิธส์ เป็นประวัติชีวิตและผลงาน รวมทั้งภาพการทำงานของพอลล็อค นอกจากนี้ยังมีบทสัมภาษณ์ ลี แครสเนอร์ เพื่อนๆ ศิลปินรุ่นหลัง รวมทั้งแฮร์ริส
สำหรับ Pollock หนังเริ่มต้นในปี 1941 เมื่อพอลล็อค (แฮร์ริส) ตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ ติดเหล้างอมแงม อาศัยอยู่กับ แซนดี้ (โรเบิร์ต นอตต์) พี่ชาย จนภรรยาของแซนดี้ไม่พอใจ ต้องพาแซนดี้และแม่ย้ายหนีไป จุดเปลี่ยนของชีวิตพอลล็อคคือการได้พบ ลี แครสเนอร์ (มาร์เซีย เกย์ ฮาร์เดน) จิตรกรหญิงผู้เชื่อมั่นในความสามารถของพอลล็อค แครสเนอร์แต่งงานกับเขาโดยมีข้อตกลงว่าพอลล็อคต้องเลิกดื่มเหล้าและมุ่งมั่น สร้างงานศิลปะ
ด้วย การหนุนหลังของแครสเนอร์ ผลงานของพอลล็อคจึงไปเข้าตา เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์ (เอมี่ เมดิแกน) เจ้าของแกลลอรี่ใหญ่แห่งนิวยอร์ค ยอมจัดแสดงผลงานเดี่ยวให้พอลล็อค แม้จะขายภาพเขียนไม่ได้เลย แต่พอลล็อคก็เริ่มเป็นที่สนใจในวงการศิลปะ และเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาได้ค้นพบวิธีการสร้างงานรูปแบบใหม่ เมื่อต้องไปวาดผนังบ้านพักของกุกเกนไฮม์เป็นค่าตอบแทนตามสัญญา
หลัง จากแต่งงานแล้ว พอลล็อคและแครสเนอร์ย้ายไปอยู่ที่ลอง ไอส์แลนด์ ชนบทอันสงบเงียบห่างไกลผู้คน ที่นี่เองที่พอลล็อคมีเวลาเต็มที่สำหรับทุ่มเทสร้างงานศิลปะ และพัฒนารูปแบบงานของเขาจนกลายเป็นสไตล์เฉพาะตัว เขาเริ่มมีชื่อเสียงเงินทอง มีกิจวัตรประจำวันที่เปลี่ยนไป แต่ความเปลี่ยนแปลงที่ได้รับเหล่านี้กลับทำให้พอลล็อครู้สึกหวั่นไหว ที่สำคัญ...สิ่งที่เขาต้องการที่สุดแต่กลับไม่ได้คือลูก
ตลอด ชีวิตช่วงหลัง พอลล็อคจมอยู่กับการดื่มเหล้า อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียว ไม่สนใจคนรอบข้างแม้กระทั่งแครสเนอร์ เขาหันไปคว้า รูธ (เจนนิเฟอร์ คอนเนลลี่) หญิงสาวอ่อนวัยมาทดแทน กระทั่งเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุรถยนต์ในปี 1956
จาก เนื้อหาจะเห็นได้ว่าตัวตนของพอลล็อคก็คล้ายกับศิลปินคนอื่นๆ ที่เราเคยพบเห็นบ่อยครั้งในหนัง เรียกว่าเป็นแบบฉบับของตัวละครที่เป็นศิลปินไม่ว่าจะเป็นตัวละครสมมติหรือมี ตัวตนจริงๆ ก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนไหวในจิตใจ และการยึดมั่นถือมั่นในตัวเองทำให้เป็นทุกข์ จนนำพาชีวิตให้ตกต่ำซ้ำเติมชะตากรรมของตน พอลล็อคก็เช่นกัน เขาหันเข้ามาเหล้า ทำร้ายตนเองจนพบจุดจบในที่สุด
แต่ ไม่ว่าชีวิตจะเลวร้ายเช่นไร ศักยภาพในตัวศิลปินย่อมต้องแสดงออกมาเสมอ หนังได้จำลองภาพการทำงานของพอลล็อค ตั้งแต่การนั่งนิ่งจ้องมองความว่างเปล่าบนเฟรมภาพ ก่อนลงมือลงสีทั้งด้วยฝีแปรงและเทคนิคการเท สาด หรือสลัดสีอย่างรวดเร็วและรุนแรง ดุจอารมณ์ภายในที่ระเบิดออกมา กระทั่งภาพเสร็จสมบูรณ์ด้วยความรู้สึกที่พอลล็อคเปรียบเทียบว่าเหมือนเสร็จ จากการร่วมรัก
พอลล็อคเคยเผยความรู้สึกของเขาถึงการสร้างงานศิลปะไว้เมื่อปี 1947 ว่า
“บนพื้นห้อง ผมรู้สึกผ่อนคลายและรู้สึกถึงการเข้าไปใกล้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาพเขียน เริ่มจากการเดินไปรอบๆ บนกรอบภาพ ลงสีจากทั้งสี่ด้าน กระทั่งไปอยู่ในภาพเขียนนั้นจริงๆ”
ทุกครั้งที่พอลล็อค เขียนภาพจึงเหมือนกับว่าเขาได้ถอดเอาชีวิตจิตใจลงไปในภาพเขียน เป็นช่วงเวลาที่เขาสามารถควบคุมชีวิตตนเองได้ ต่างจากหลายฉากชีวิตนอกเวลาทำงานที่ใจเขากระเจิดกระเจิงไปจนไร้การควบคุม
การ จำลองภาพการทำงานของพอลล็อคในหนังจึงช่วยเน้นย้ำให้เห็นว่าพอลล็อคมีชีวิต ชีวาแค่ไหนขณะอยู่ในกรอบภาพ และต่างจากชีวิตนอกกรอบภาพอย่างไร
ย้อน กลับไปที่คำถามของผู้เขียนเกี่ยวกับเหตุผลในการสร้างและการหาคุณค่าของหนัง แนวชีวประวัติศิลปิน เรารู้แล้วว่าแฮร์ริสสร้าง Pollock สืบเนื่องมาจากความฝังใจในอดีต ถือเป็นการแสดงความชื่นชมและยกย่องพอลล็อค แต่ในด้านคุณค่าของหนัง ถ้าเปรียบเทียบกับจิตรกรผู้มีชื่อเสียงทั้งรุ่นเก่าและร่วมสมัยหลายต่อหลาย คน สำหรับคนที่ไม่ได้สนใจศิลปะโดยตรงแล้ว คงไม่ได้นึกถึงชื่อพอลล็อคเป็นอันดับต้นๆ อย่างแน่นอน
“คุณค่า”
ของหนังแนวชีวประวัติอย่าง Pollock จึงไม่ใช่การสะท้อนภาพของศิลปินซึ่งเป็นที่สนใจของผู้ชมทั่วไป แต่เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงหรือแนะนำให้รู้จักเสียมากกว่า ซึ่งแฮร์ริสก็ทำในจุดนี้ได้ดี เพราะนอกจากผู้ชมจะได้รู้จักพอลล็อคแล้ว ยังได้เห็นวิธีการทำงานศิลปะซึ่งแปลกและแตกต่างจากศิลปินคนอื่นๆ
แต่ ถ้าดูเฉพาะเนื้อหา หนังเรื่องนี้ไม่ได้มีความแปลกใหม่หรือแตกต่างจากหนังแนวชีวประวัติเรื่อง อื่นๆ ยังไม่ต้องพูดถึงการมองคุณค่าจากมุมกว้างผ่านชีวิตของพอลล็อค ยกตัวอย่างเช่นนิวยอร์คยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือแวดวงศิลปะในยุคนั้น เพราะยากที่จะเห็นอะไรชัดเจนจากหนังที่ให้ตัวละครเป็นตัวดำเนินเรื่องใน ลักษณะเป็น
“ผู้กระทำ”
ตลอดเวลาเช่นเรื่องนี้
ดัง นั้น คนที่ได้รับประโยชน์หรือคุณค่าจากหนังไปเต็มๆ จึงเป็นใครไปไม่ได้ ถ้าไม่ใช่ผู้ผลักดันสร้าง Pollock มาตลอดอย่างแฮร์ริส เพราะนอกจากจะเป็นการยกย่องศิลปินที่เขาชื่นชมแล้ว การที่แฮร์ริสสวมบทเป็นพอลล็อคเสียเอง ยังเป็นการสนับสนุนความเห็นของพ่อของเขาที่ว่าแฮร์ริสเหมือนพอลล็อคมาก ไม่เพียงการแสดงเป็นพอลล็อคในหนังของตนเองเท่านั้น แฮร์ริสยังจำลองฉากบางฉากในหนังปี 1951 ของ ฮันส์ นามุท ที่บันทึกภาพการทำงานของพอลล็อคมาใส่ไว้ในหนัง โดยมีเขาเป็นผู้สวมทับท่วงท่าอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปิน แทนการยกฟุตเตจจากหนังเรื่องดังกล่าวมาใส่ไว้เลยเพื่อความสมจริง
เห็น ได้ว่าศิลปินที่เป็นตัวละครในหนังลักษณะนี้เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักในวงกว้าง ดังนั้น คุณค่าของหนังจึงอยู่ที่การสะท้อนภาพชีวิตของศิลปินซึ่งเป็นที่สนใจอยู่แล้ว นั่นเอง ขณะที่บางเรื่องได้เพิ่มคุณค่าขึ้นด้วยการชูหรือแฝงประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม หรือการเมือง เช่น Quills (2000) เรื่องของ มาร์กีส์ เดอ ซาด ที่ชูประเด็นอิสรภาพทางความคิดและการกระทำ และ Before Night Falls (2000) โศกนาฏกรรมของ เรนัลโด้ อารีนาส กวีเกย์ชาวคิวบาซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการ
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองภาพรวมของหนังชีวประวัติศิลปินจะพบว่าต่างมีจุดร่วมสำคัญ คือศิลปินซึ่งเป็นตัวละครเอกล้วนแต่มีบุคลิกแปลกแยก เปลี่ยวเหงา จิตใจอ่อนไหว และประพฤติตนโดยไม่แยแสกฎเกณฑ์หรือบรรทัดฐานใดๆ จนคนอื่น(รวมทั้งผู้ชม) ไม่อาจเข้าใจได้แน่ชัด.....
ถ้า จำไม่ผิดสายลมฯ ได้ดูภาพยนต์เรืองนี้ครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งถูกนำมาฉายโดยยูบีซี การดำเนินเรืองออกจะน่าเบื่อและเชื่องช้า ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการดำรงชีวิตและอารมณ์ของศิลปินทั่ว ๆ ไป ที่ไม่สามารถจัดการกับชื่อเสียง ความโด่งดัง และความร่ำรวยที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วได้
แต่ ก็ไม่รู้ทำไมสายลมฯ กลับดูภาพยนต์ได้จนจบ และจดจำมาได้จนถึงทุกวันนี้ ไม่ได้จำเพราะชื่อเรืองที่เป็นจิตกร แต่จดจำเนื้อเรืองต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี จนมาวันนี้ได้เข้ามาท่องในโลกไร้พรมแดนและได้เจอกับเรืองนี้อีกครั้ง จึงได้รู้ว่าเรืองที่เราประทับใจและจดจำมาได้จนทุกวันนี้ คือ เรื่อง Jackson Pollock : Love and Death และยิ่งประทับใจมากขึ้น เมื่อรู้ว่ามันคือ ภาพยนต์ที่สร้างขึ้นอิงจากชีวประวัติของจิตรกรชื่อก้อง (ชอบภาพยนต์อิงชีวะประวัติมากค่ะ)
ประทับใจจนต้องเอามาเล่าสู่กันฟัง และนำเอา
เวป ที่ใช้สำหรับการฝึกวาด หรือทดรองวาดภาพแบบ Jackson Pollock มาให้ทุกคนทดลองตวัดพู่กันกัน เพื่อระลึกถึงวันนี้ วันของ Jackson Pollock
ขอให้สนุกสนานกับงานศิลปแบบคุณนะค่ะ
ภาพ จิตรกรรมที่แพงที่สุดของโลกเป็นภาพแนวอเมริกันแอบสแตรคเอกซ์เพรสชันนิสม์ ชื่อว่า No. 5,1948 วาดโดยJackson Pollock ที่เดวิด มาร์ติเนซซื้อไปในราคา 140 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นราคาที่ประเมินไว้ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2006
และผลงานเลื่องชื่ออื่น ๆ
บทความที่ใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)